วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไผ่หวานที่สุรินทร์

ไผ่หวานที่สุรินทร์
การปลูกไผ่หวาน หรือไผ่ชนิดต่าง ๆ ที่เป็นไผ่เลี้ยง บ่ ว่าสิเป็นไผ่หวานพันธุ์หอมทอง
ไผ่พันธุ์หม่าจู ไผ่ตงลืมแล้ง หรือไผ่พันธุ์ต่าง ๆ กำลังได้รับความนิยม อยู่ในกระแสพืข
เศรษฐกิจในช่วง 10 ปีมานี้

ลูกหินมีโอกาสไปเยี่ยมชมสวนไผ่หวานของคุณตาเพิ่ม อยู่ บ่ไกลจากตัวเมืองสุรินทร์
ปานใด ถนนสายสุรินทร์ - จอมพระ คุณตาเพิ่นปลูกมา 2 ปีกว่าแล้ว มีป่าไผ่ 2 แปลง
ราว 10ไร่ มีการจัดการที่ดี หน่อออก..ได้ตัดตลอดจ้า ภายในสวนไผ่ มีระบบการให้น้ำ
อย่างทั่วถึง มีการพูนดินเป็นวงกลมรอบกอไผ่เพื่อให้หน่อแทงออกมาได้ง่าย สะดวก
มีการค้ำยันต้นช่วยในการทรงตัวของลำต้น เก็บภาพ มาฝาก พี่น้องนำจ้า เพื่อสิสนใจปลูกไผ่เลี้ยงคือเพิ่นจ้า


หน่อไผ่แทงขึ้นรอบกอ..จ้า


ภายในสวน มีการจัดกำหนดระยะการปลูกเป็นระเบียบ มีการสร้างที่ค้ำนันพยุงลำต้นไผ่นำ



เด็กชายแดง ลูกชายผู้ดูแลสวน เป็นคนนำชม จ้า



หน่อ บ่ ใหญ่ แต่ หวานจ้า



ระบบน้ำ มี ทั่งสวน จ้า แต่ หน้าฝน นี้ บ่ต้อง รด จ้า พระพิรุณ รดให้แล้วจ้า












การขยายพันธุ์ไผ่ตง

ไผ่ตงสามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธีคือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกเหง้า ชำปล้อง และการขยายพันธุ์โดยการปักชำแขนง ซึ่งมีวิธีทำดังนี้ 1. การเพาะเมล็ด
ไผ่ตงเมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและตาย ปกติไผ่ตงจะเริ่มออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เมล็ดไผ่ตงจะเริ่มแก่และร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน เกษตรกรสามารถนำเมล็ดไผ่ตงที่ได้ไปทำการเพาะต่อไปโดยวิธีการดังนี้
1.1 การเก็บเมล็ดพันธุ์
      - เมล็ดไผ่ตงเมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น เกษตรกรควรทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียน เพื่อความสะดวกในการรวบรวมเมล็ดไผ่ตง หรือใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ตง กรณีเขย่าต้นให้เมล็ดร่วงจากต้น
      - รวบรวม เมล็ดพันธุ์ไผ่ตงที่ได้ ทำการฝัดด้วยกระด้งก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์
      - นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวดเอาเปลือกออกโดยใช้พื้นรองเท้าแตะฟองน้ำ ขัดนวดเมล็ดบนกระด้ง และฝัดเอาเปลือกออก
      - นำเมล็ดที่ได้ไปผึ่งแดด ประมาณ 1 แดด ก็สามารถนำไปเพาะได้ เพื่อป้องกันแมลงและไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง
1.2 วิธีการเพาะกล้าไผ่ตง
      - เมล็ดไผ่ตงที่จะเพาะควรขัดเอาเปลือกนอกออกก่อนถ้าเพาะทั้งเปลือกนอกเมล็ดจะงอกช้าและเติบโตไม่สม่ำเสมอ
      - นำเมล็ดไปแช่น้ำ 2 คืน หรือแช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วแช่น้ำอีก 1 คืน
      - นำเมล็ดขึ้นจากน้ำ แล้วห่อหุ้มเมล็ดด้วยผ้า
รดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก
      - นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซม. คลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น หญ้าแห้ง และฟางข้าว
      - ทำการย้ายกล้า ภายหลังจากการเพาะลงแปลงแล้วประมาณ 15 วัน ซึ่งต้นกล้าไผ่ตงจะมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำ หรือในที่ร่มรำไร ประมาณ 6-8 เดือน ก็นำไปปลูกต่อไป 2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เราสามารถใช้ต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการนำต้นกล้ามาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะชำกิ่งแขนงออกดอกและตายเพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่ที่มีอายุมากพร้อมที่จะออกดอกกิ่งแขนงนั้นจะมีอายุเท่ากับต้นแม่ ฉะนั้นเมื่อต้นแม่ออกดอก กิ่งแขนงที่นำไปปลูกก็จะออกดอกตายด้วยเช่นกัน แต่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องอาศัยขั้นตอนและเทคนิคทางวิชาการมาก จึงควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการหรือบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการผลิต 3. การขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เหง้า
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องคัดเลือกเหง้าที่มีอยู่ 1-2 ปี จะตัดให้ตอสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร แล้วทำการขุดเหง้ากับตอออกจากกอแม่เดิม โดยระวังอย่าให้ตาที่คอเหง้าแตกเสียหายได้ เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป ส่วน "หน่อเจ่า" เป็นหน่อที่ขุดขึ้นมามีขนาดเล็ก สามารถแยกกอไปปลูกได้เช่นกัน การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้เหง้าแม่ที่สะสมอาหารอยู่มากจึงมีอัตราการอดตายสูงทำให้หน่อแข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงหรือลำ ได้พันธุ์ตรงกับสายพันธุ์เดิม แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากเสียเวลาแรงงาน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก 4. การขยายพันธุ์โดยใช้ลำ
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องทำการคัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ซึ่งการใช้ท่อนตัด 1 ข้อ จะต้องตัดตรงกลางและให้รอยตัดทั้งสองห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ และควรเป็นลำที่มีแขนงติดอยู่โดยจะต้องตัดให้แขนงเหลือยาวประมาณ 1 คืบด้วย จากนั้นจึงนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดินและให้ตาหงายขึ้น ระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย แล้วใส่น้ำลงในปล้องไผ่ตงให้เต็ม และคอยเติมน้ำให้อยู่เต็มอยู่เสมอ
การเพาะวิธีนี้จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำให้ความชุ่มชื่นอยู่เสมอหลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและรากแตกออกมา เมื่อหน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่ ประมาณ 6-12 เดือน ก็ทำการย้ายปลูกได้ 5. การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ
กิ่งแขนงคือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้เด่นชัด การใช้กิ่งแขนงขยายพันธุ์เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะสะดวกและง่าย โดยมีการคัดเลือกดังนี้
      - ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1 1/2 นิ้ว
      - ให้เลือกรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว
      - ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน
      - ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี
การคัดเลือกกิ่งแขนง
ขั้นตอนในการปักชำกิ่งแขนง
เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ จากนั้นตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว 80-100 เซนติเมตร การปักชำควรจะทำในปลายฤดูฝนหรือในราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
      - เตรียมแปลงเพาะชำโดยการไถพรวนดิน แล้วควรตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นทำการย่อยดินและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง และถ้าเป็นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี
      - ขุดร่องให้เป็นแนวเหนือ-ใต้ และขุดให้ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้กิ่งแขนงได้รับแสงแดดทั่วถึงกันทุก ๆ ด้าน
      - นำกิ่งแขนงปักชำลงในร่องให้ห่างกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบให้แน่น รดน้ำทันที หลังจากชำเสร็จแล้วทำหลังคาด้วยทางมะพร้าวเพื่อบังแดด หมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
      - หลังจากปักชำแล้วประมาณ 6-8 เดือน กิ่งแขนงที่ชำไว้จะแตกแขนงใบและรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะย้ายลงปลูกในแปลงได้ การปักชำกิ่งแขนงอาจดำเนินการเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน
ถ้ามีการขนย้ายกล้าในระยะทางไกล ๆ ควรย้ายกล้าลงชำในถุงพลาสติกทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ต้นกล้ากิ่งแขนงที่ชำไว้แตกแขนง ใบ และราก ตั้งตัวได้และมีความแข็งแรง


ประโยชน์จากไม้ไผ่

ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก





ประโยชน์จากไม้ไผ่


ประโยชน์จากไม้ไผ่

ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก





ประโยชน์จากไม้ไผ่


ประโยชน์จากไม้ไผ่

ไผ่หวานที่สุรินทร์

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แกะสลักจากมะละกอ

ใช่จ้า..เด็กชอบดูเขาแกะล่ะตะเอง..ดูจนกว่าจะอิ่มเลยล่ะ..หารู้ไม่ครูมือจะหงิก..ทุกผอบต้องมีฝีมือครูขึ้นต้นไว้ให้ทุกอัน..พวกพ่อคุณแม่คุณทั้งหลายจึงจะมีกำลังใจแกะ..ขี้อ้อนจริงๆเด็กเทศบาลอิๆๆๆ

มหัศจรรย์แห่งมะละกอ มีประโยชน์

  
                                                             ที่มา  thaiwebkit.com
      
มะละกอเป็นพืชมหัศจรรย์ ทุกส่วนของมะละกอสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นมะละกอมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผลนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิดซึ่งอุดมไปด้วย วิตามินเอและสารเบต้าเคโรทีน วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ผม ฟัน เหงือก สารเบต้าแคโรทีนช่วยต้านโรคมะเร็ง ช่วยให้ผิวพรรณสดใสลบริ้วรอยสิวฝ้า ส่วนผลสุกและดิบมีวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและเหล็ก วิตามินซี ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด โรคมะเร็ง โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟันและใต้ผิวหนัง ช่วยไม่ให้แก่ก่อนวัย แคลเซี่ยม ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน ฟอสฟอรัสช่วยสร้างกระดูกและฟัน เหง้าช่วยบารุงเลือดและป้องกันการเป็นโรคโลหิตจาง


    ที่มา horapa.com
          เส้นใยในเนื้อของมะละกอช่วยให้ระบบขับถ่ายทางานได้ดี ไม่ทำให้ท้องผูก ไม่เกิดสิว ทำให้ไม่อ้วน ผิวพรรณสดใสมีเลือดฝาด ทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอลอีกด้วย  ผลสุกของมะละกอมีรสหวานอร่อย มีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน  รับประทานได้ทั้งที่เป็นผลสด หรือทำเป็นเครื่องดื่ม ทำแยม  ส่วนผลดิบนำไปประกอบอาหารทั้งที่เป็นอาหารคาว  อาหารหวาน และอาหารยอดนิยมได้แก่ส้มตำ  อาหารคาวเช่นนำไปทำเป็นแกงส้ม แกงเผ็ด ผัดใส่ไข่ แกงเหลือง แกงอ่อม แกงป่า ดองเค็ม ต้มเค็ม ต้มหรือนึ่งเป็นผักจิ้มน้าพริก ส่วนอาการหวานที่รู้จักกันดีคือมะละกอแช่อิ่ม รับประทานเป็นขนมหวานหรือใส่เป็นน้าแข็งใสก็ได้ 
                                                          
                                                            ที่มา library.cmu.ac.th  


       
ยางที่ได้จากผลมะละกอดิบยังใช้หมักเนื้อ ช่วยให้เนื้อเปื่อยยุ่ยทุกส่วนของมะละกอมีสรรพคุณทางยาสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและบาบัดรักษา โรคได้ ดังเช่นเนื้อของผลสุก ช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหาย บารุงกระเพาะ บารุงม้าม..แก้ปวดท้อง และช่วยขับปัสสาวะเนื้อของผลดิบ หากนำไปตากแห้งและบดเป็นผงนาไปรับประทานขณะท้องว่างในตอนเช้า จะช่วยแก้พยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลมใบ นาใบสดไปตาหรือย่างไฟ ใช้พอกรักษาแผล หนอง กลาก..เกลื้อน และอาการปวดบวมได้เมล็ด นามาบดเป็นผง ใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน และโรคผิวหนัง ราก นำไปต้ม ใช้ดื่มขับปัสสาวะ ขับประจาเดือน ดอก นำไปตากแห้ง ชงเป็นน้ำดื่มขับประจำเดือนแก้ไข้ แก้โรคดีซ่าน ถ้านำไปต้มใส่น้าตาล ดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจไม่ปกติ  และผลมะละกอดิบเมื่อนำไปปอกเปือกล้างให้สะอาด  หั่นเป็นชิ้นๆ  นำไปต้มรับประทานจิ้มน้ำพริกอร่อยมาก  น้ำที่ต้มนำไปดื่มล้างไขมันในลำไส้เป็นการดีทอกซ์ราคาถูก สามารถลดน้ำหนักได้ดีเชื่อมโยงความรู้จากเรื่อง
            
มหัศจรรย์แห่งมะละกอ เป็นเนื้อหาในหนังสือวิวิธภาษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงประโยชน์ของมะละกอ  และได้มีการเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับภาษาถิ่นและภาษามาตรฐานในภาษาไทยว่ามีการใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐานส่วนภาษาถิ่นนักเรียนจำเป็นต้องรู้  เช่น  มะละกอเป็นภาษากลาง  แต่มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นต่างกัน  เช่นภาษาเหนือเรียกว่า  มะเต้ด  ภาษาอีสาน เรียกว่า บักหุ่ง  ภาษาใต้  เรียกว่า  มะเต๊ะ  เป็นต้น  และมีคำอื่นๆอีกมากที่นักเรียนควรศึกษาสืบค้นการบูรณาการความรู้
           
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง  การปลูกมะละกอ  การประกอบอาหารจากมะละกอ  

สรรพคุณมะละกอ

กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน
มะละกอ
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Carica papaya  L.
ชื่อสามัญ  Papaya, Pawpaw, Tree melon
วงศ์  Caricaceae
ชื่ออื่น :  มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 3-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลออกขาว ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย มีรอยแผลใบชัดเจน มียางขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบต้นหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปฝ่ามือ ขนาด 80-120 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึกถึงแกนก้าน ก้านใบเป็นหลอด กลมกลวงยาว 25-100 ซม. ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กว่าดอกเพศผู้ ผล รูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง มียางสีขาว ผลสดสีเขียวเข้ม พอสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม รับประทานได้ มีเมล็ดมาก เมล็ดกลม สีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวใส
ส่วนที่ใช้ : ผลสุก ผลดิบ ยางจากผลหรือจากก้านใบ ราก
สรรพคุณ :
  • ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
  • ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
  • ราก - ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เป็นยาระบาย
    ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
  • เป็นยาช่วยย่อย
    ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร
    ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )
  • เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน
    ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี
  • ราก เป็นยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง :
          สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง
สารเคมี :
  • ในผลมะละกอ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 % คาร์โบไฮเดรต 9.5 % แคลเซี่ยม 0.01 % ฟอสฟอรัส 0.01 % เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม และสารอื่นๆ อีกเล็กน้อย
  • ในส่วนของเนื้อมะละกอ จะมี sucrose, invert sugar papain, malic acid และเกลือของ Tartaric acid, citric acid และ pectin จำนวนมาก (มีทั้งในผลดิบด้วย) และ pigment พวก carotenoid และวิตามินต่างๆ
  • ยางมะละกอ มี enzyme ชื่อ papain ซึ่ง papain เป็นชื่อรวมสำหรับเรียกเอนไซม์จากน้ำยางมะละกอ ซึ่งประกอบด้วย papain 10% chymopapain 45% lysozyme 20%

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กล้วยครบวงจร

กล้วยเป็นพืชเมืองร้อนที่ปลูกมาเคียงข้างกับประเทศไทย คนไทยรู้จักกล้วยและรับประทานกล้วย
มาตั้งแต่เด็ก การปลูกกล้วยในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้น ๆ แสดงให้เห็นถึงความนิยมของผู้บริโภค
แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะรู้จักกล้วยอยู่เพียง 3 ชนิด คือ กล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า และกล้วยไข่ ภาย
ในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการส่งออกมิได้เพิ่มตามพื้นที่การปลูกกล้วย ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ
ในการปลูก การดูแลให้กล้วยได้มาตรฐานในการส่งออก แต่ก็ไม่มีผู้ใดทำการส่งออกจริงจัง การส่งออกจะ
ได้ผลดีต้องอาศัยองค์กรประกอบ อาทิเช่น ตัวเกษตรกรเองพันธุ์กล้วยที่ให้ผลิตสูง ผลผลิตมีคุณภาพและ
ผู้ส่งออกซึ่งอาจจะต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีหน้าที่ในการสอนและวิจัย ได้ทำการวิจัยถึงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย
ในประเทศไทย การผลิตกล้วยเพื่อการส่งออกต่างประเทศ รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของกล้วยด้วย การแปรรูป
และการนำส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วยมาใช้ประโยชน์ อาทิเช่น ปลี ใบตองและกาบกล้วย ดังต่อไปนี้
การอนุรักษ์พันธุ์กล้วยในประเทศไทย ได้ทำการวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2522-2526 โดย เบญจมาศ ศิลาย้อย
และฉลองชัย แบบประเสริฐ แห่งภาควิชาพืชสวน โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก IBPGR/FAO ได้ทำการสำรวจ
รวบรวม และจำแนกพันธุ์กล้วยในประเทศไทย พบว่า มีอยู่ 53 พันธุ์ หลังจากนั้นได้มีผู้ช่วยทำการสำรวจ
เพิ่มขึ้นคือ กวิศร์ วานิชกุล จนกระทั่งได้ 59 พันธุ์ พันธุ์ที่รวบรวมได้ ได้เก็บรักษาไว้ในแปลงรวบรวมพันธุ์
ที่สถานีวิจัย ปากช่องจังหวัดนครราชสีมา โดย ฉลองชัย แบบประเสริฐ และภาควิชาพืชสวน วิทยาเขต
กำแพงแสน โดยกวิศร์ วานิชกุล และได้รวบรวมไว้โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ภาควิชาพืชสวน วิทยาเขต
บางเขน โดย เบญจมาศ ศิลาย้อย
การพัฒนาการผลิตกล้วยหอมเศรษฐกิจให้ได้ผลผลิตสูง

เพื่อใช้ผลิตในเชิงการค้างานทดลองนี้ได้เน้นที่พันธุ์กล้วยหอมที่ปลูกเป็นการค้าทั่วโลกคือ พันธุ์แกรนด์เนน
ซึ่งเป็นพันธุ์กล้วยหอมเขียว ที่นำมาจากอเมริกาใต้ โดย เบญจมาศ ศิลาย้อย และได้ปลูกทดสอบ กล้วย
หอมเขียว (Cavendish) พันธุ์ต่าง ๆ เช่น วิลเลียม ไจแอนท์คาเวนดิช ดวอฟคาเวนดิช เปรียบเทียบกับ
กล้วยหอมทอง และหอมทองไต้หวัน โดย กวิศร์ วานิชกุล จุลภาค คุ้นวงศ์ และเบญจมาศ ศิลาย้อย ที่
วิทยาเขตกำแพงแสน เมื่อ ปี พ.ศ. 2532 และ พบว่า กล้วยหอมเขียวทุกพันธุ์ มีศักยภาพที่จะปลูกได้ใน
ประเทศไทยโดยให้ผลผลิตสูง จำนวนหวีมาก จำนวนผลต่อหวีสูงกว่ากล้วยหอมทอง กล่าวคือ ในขณะที่
ผลิตกล้วยหอมทองได้ 4-6 หวี/เครือ มี 14 ผล/หวี กล้วยหอมเขียวดังกล่าวสามารถให้ผลผลิตได้
ประมาณ 8-12 หวี/เครือ และจำนวน 16-20 ผล/หวี ดังนั้น จึงควรปลูกกล้วยหอมเขียวพันธุ์ดังกล่าว
โดยเฉพาะกล้วยหอมแกรนด์เนน ซึ่งมีต้นเตี้ย รสชาติคล้ายหอมทอง ส่วนกล้วยหอมทองนั้นควรปลูก
รับประทานภายในประเทศ ในปี 2536-2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ให้
ทุนนักวิจัยทำการวิจัยกล้วยครบวงจร ดังนั้น ในการวิจัยการปลูกในเชิงการค้าจึงเน้นที่ กล้วยหอม
แกรนด์เนน ซึ่งฉลองชัย แบบประเสริฐ รักเกียรติ ชอบเกื้อ สุวิทย์ มานิชยิ่ง และ พินิจ กรินท์ธัญญกิจ
ได้ทำการทดลองที่สถานีวิจัยปากช่อง ส่วน ณรงค์ สิงห์บุระอุดม ได้ทดลองที่วิทยาเขตกำแพงแสน ได้
ทดลองใช้พันธุ์กล้วยหอมแกรนด์เนนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลูก และได้ผลทำนองเดียวกันว่า ควร
ใช้อัตราปลูก 350 ต้นต่อไร่ เก็บใบไว้ 11 ใบ จะได้ต้นที่มีการเจริญเติบโต ผลผลิตดี คุณภาพดี กล่าวคือ
ได้น้ำหนักเครือสูงถึง 28.38 กิโลกรัม มีผล 15.36-18.35 ผล/หวี และมี 7.86-8.66 หวี/เครือ ความยาว
ของผล 15.92-16.12 เซนติเมตร กว้าง 3.95-4.02 เซนติเมตร เปลือกมีความหนา 0.3-0.343 เซนติเมตร
ถ้าหากการปลูกกล้วยมีจำนวนมากเพื่อการส่งออก ปริมาณสิ่งที่เหลือใช้จากการส่งออกจะมีมากมาย
เพราะในการส่งออกนั้นจะต้องคัดเลือกผลที่ได้ขนาดมาตรฐาน ผิวดีไม่มีตำหนิ ดังนั้นจะมีผลกล้วยที่ไม่ได้
มาตรฐานเหลือมาก ซึ่งสามารถส่งขายตลาดในประเทศ หรืออาจจะมาเพิ่มมูลค่าในการส่งออก โดย
การแปรรูปได้ เช่น
การทำแป้งกล้วย (Banana flour) งานวิจัยนี้ได้กระทำโดย กรุณา วงษ์กระจ่าง มาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์
ลัดดา แสงเดือน สุมิตรา บุญบำรุง และ พยอม อัตตวิบูลย์กูล โดยทำการทดลองกับกล้วยหอมดิบและ
กล้วยไข่ดิบ ทั้งนี้ เพราะกล้วยดิบมีคาร์โบไฮเดรท ซึ่งอยู่ในรูปของแป้งสูง งานทดลองนี้ได้ทดลองกล้วยดิบ
กับกล้วยดิบที่นึ่ง โดยนำกล้วยมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นึ่งและอบแห้งที่ 60 ํC แล้วร่อนผ่านตะแกรง
60 mesh ผลการทดลอง พบว่า จากการทำขนมเค้ก และคุกกี้ พบว่า แป้งกล้วยไม่ผ่านการนึ่งได้รับการ
ยอมรับมากกว่าจากการใช้แป้งกล้วย 30-50% ทดแทนแป้งสาลีในการทำขนม
การทำกล้วยผง (Banana powder) กล้วยผงต่างจากแป้งกล้วยที่ทำจากกล้วยสุก เป็นผลิตภัณฑ์
ที่มีน้ำหนักเบา สามารถเก็บรักษาได้นาน และอยู่ในสภาพสะดวกต่อการนำไปใช้ เช่น เป็นส่วนผสมของ
อาหารเด็กอ่อนขนมอบ ขนมหวาน การทดลองนี้ได้ทำการวิจัยโดย ธนะบูลย์ สัจจาอนันตกุล และ กัลยาณี
โสมนัส ได้ทดลองนำกล้วยที่มีความสุกแก่ 2 ระดับ คือที่ PCI 5-6 และ 7-8 นำมาทำแห้งแบบโฟม และ
แบบพ่นฝอย พบว่า ในการทำแห้งแบบโฟม ต้องใช้ Milhocel A&M (4000 cps) หรือ Myvatex เป็นสาร
ช่วยให้โฟมคงตัว โดยใช้ความเข้มข้น 0.7-1.1% solid กล้วยขึ้นกับอายุการสุกแก่ หลังจากนั้นสามารถ
ใช้การอบแห้งโดยตู้อบแห้ง และบดเป็นยาได้ ทั้งนี้ Myvatex จะสะดวกในทางปฏิบัติมากกว่า ส่วนการ
ทำแห้งแบบฝอยมีขั้นตอนที่สะดวกในการปฏิบัติมากกว่าการทำแห้งแบบโฟม การทำแห้งแบบฝอยควรมี
Maltodextrin ปริมาณ 60:40 กับ solid กล้วย เพื่อช่วยในการทำแห้ง และรักษากลิ่นแต่ทำให้ผลที่ได้
มีสีเหลืองน้อยลง
การพัฒนาการผลิตเครื่องดื่มจากกล้วย กล้วยสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้เช่นเดียวกับส้ม
สตรอเบอรี่ โดย ทนง ภัครัชพันธุ์ และได้ทำการวิจัยการทำน้ำกล้วยแบบใส และแบบขุ่น
นอกจากเป็นน้ำกล้วย ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์แล้ว กล้วยยังสามารถนำมาผลิตไวน์ และ
ลิเคียวได้ โดย ประดิษฐ์ ครุวัณณา ได้ศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตไวน์ และลิเคียวจากกล้วย
โดยทดลองใช้กล้วยที่สุก 3 ชนิด คือ กล้วยหอมทอง แกรนด์เนน และวิลเลียม ทำการหมักกล้วย
โดยใช้ยีสต์ Saccharomyces cerevesiae (Montrachet Strain) จำนวน 5% ที่อุณหภูมิ 20 ํC และทำให้
ใสโดยใช้เอนไซม์ Ultrazyme 100 C 70 ppm ที่ 20 ํC ประมาณ 10 วัน แล้วกรองด้วยเครื่องกรอง
สูญญากาศ เก็บไวน์ไว้ที่ 5 ํC ส่วนการทำลิเคียว (สุรากลั่นเติมรสหวาน) นั้น ทำการกลั่นไวน์กล้วยที่หมัก
ทั้งเนื้อ และเปลือก ด้วยเครื่องกลั่นทำด้วยแก้ว เก็บเมื่อมีแรงแอลกอฮอล์ ประมาณ 60% โดยปริมาตร
เติมผง activated charcaal 0.05 % กรองด้วยกระดาษกรองเบอร์ 1 แล้วเติมแอลกอฮอล์กลั่นนี้ในไวน์
กล้วยหอมจนมีแรงแอลกอฮอล์ ประมาณ 15% โดยปริมาตร เติมน้ำเชื่อมจนมีน้ำตาลรีคิงส์ 5.0-7.5%
จากผลการทดลอง พบว่า กล้วยหอมทองและกล้วยวิลเลียมเหมาะที่จะนำมาหมักไวน์ ส่วนกล้วยหอม
แกรนด์เนนและหอมทองเหมาะในการทำลิเคียว
การนำกล้วยบรรจุกระป๋อง กาญจนารัตน์ ทวีสุข ได้ทำการทดลองบรรจุกล้วย พบว่า สามารถ
ทำการแปรรูปเป็นกล้วยกระป๋องได้ผลดี
นอกจากการใช้ผลกล้วยแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของกล้วยเพื่อทำผลิตภัณฑ์อื่น
เช่น การใช้ใบตอง และลำต้นเทียมของกล้วย
การใช้ใบตอง ได้มีการทดลองทำบรรจุภัณฑ์จากใบตองแห้ง โดย งามทิพย์ ภู่วโรดม โดยมีจุดประสงค์
ในการทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำมาทดแทนภาชนะพลาสติกและโฟมใช้ในการบรรจุอาหารชั่วคราว เพื่อลด
ปัญหาขยะและมลภาวะทางอากาศ พบว่า การใช้ใบตองของกล้วยตานีดำ และหอมเขียว ให้คุณสมบัติใกล้
เคียงกัน มีความแข็งแรงดีกว่าใบตองของกล้วยน้ำว้า และใบที่ใช้ควรเป็นใบอ่อน จะมีสีสวยงามกว่าใบแก่
ในการวิจัยได้ทำการขึ้นรูปภาชนะ รูปร่างเป็นวงกลมสี่เหลี่ยมผืนผ้า และสี่เหลี่ยมจตุรัส ในการขึ้นรูปต้องใช้
แม่พิมพ์อัดโดยใช้ความร้อน แรงดัน จากการศึกษาพบว่า การขึ้นรูปต้องใช้แม่พิมพ์ที่ประกบติดกันได้สนิท
ระยะห่างของแม่พิมพ์ทั้ง 2 ชั้น ต้องสม่ำเสมอ และควรใช้ใบตอง 7 ชั้น อัดที่อุณหภูมิ 80 ํC ความดัน 3 ตัน
เป็นเวลา 1 นาที 30 วินาที ถึง 3 นาทีส่วนภาชนะควรเป็นทรงกลมและตื้นคือ ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร
จะได้ภาชนะที่แข็งแรงกว่าทรงเหลี่ยมและลึก อย่างไรก็ตามความแข็งแรงทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดใบตองที่ใช้ด้วย
การผลิตกระดาษจากลำต้นเทียมของกล้วย ได้ทำการวิจัย โดย ปรีชา เกียรติกระจาย โดยมีจุดประสงค์
เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ และเคมีพื้นฐานจากกาบกล้วย และสมบัติเบื้องต้นทางเยื่อกระดาษจากกาบ
กล้วยพบว่า มวลของต้นกล้วยเป็นน้ำส่วนใหญ่ สัดส่วนน้ำต่อมวลแห้ง ประมาณ 14:1 มวลแห้งของกาบต่อไส้
4.5:1ไฟเบอร์ของกาบกล้วยมีความยาวระหว่าง 3-5 มม. มีลิกนินต่ำกว่า 14% เมื่อเทียบกับไม้ซึ่งมี 25-35%
ดังนั้น จึงมีแรงต้านทานต่อแรงหักที่สูงกว่าไม้หลายชนิด เหมาะที่จะทำเป็นกระดาษเพื่อความสวยงาม จะเหมาะ
กว่าเช่น ชานอ้อย และกระดาษสา เปลือกกล้วย ยังมีสารที่มีประโยชน์ เช่น แทนนิน แทนนิน มีประโยชน์
ในแง่การเสริมรสชาติในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะไวน์แดง และมีกลิ่นรส เฉพาะตัว ของผลิตภัณฑ์ วิภา
สุโรจนะเมธากุล ได้ทำการวิจัย พบว่า ในเปลือกกล้วยมีปริมาณแทนนินอยู่แต่ไม่มากนัก
นอกจากการวิจัยในด้านการผลิตและแปรรูปแล้ว ยังได้มีการศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์
ของการผลิตและการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ จากกล้วย โดย สมคิด ทักษิณาวิสุทธิ์ พบว่าเกษตรกร เห็นว่า
ต้นกล้วยพันธุ์แกรนด์เนนที่ผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดี เหมาะสมที่จะผลิตเป็นการค้า ถ้าหากมีผู้รับ
ซื้อจริงจัง เกษตรกรสามารถทำการผลิตส่งได้
จากงานวิจัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เราสามารถปลูกกล้วยได้ดีในประเทศไทย และสามารถปลูก
ในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย ส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วย รวมทั้งผล สามารถนำมาแปรรูปได้ เป็นการเพิ่มมูลค่า
ของกล้วยให้มากยิ่งขึ้น

ไอเดียสร้างสรรค์ กับงานศิลปะจากกล้วย

ไอเดียสร้างสรรค์ กับงานศิลปะจากกล้วย
















คุณประโชยน์ของกล้วย

หลายคนมองหาวิธีลดน้ำหนักให้ได้ผลอย่างจริงจัง บ้างอดข้าว อดน้ำ ไม่กินอะไรสักอย่างเพื่อให้น้ำหนักลดลง บ้างก็เลือกกินแต่ผลไม้อย่างเดียว บ้างก็ไปหาหมอเพื่อกินยาหวังให้ส่วนเกินลดลงไปหายไป บ้างก็กินยาถ่ายเพื่อหวังให้ตัวเบาขึ้นกว่าเดิม บ้างก็ใช้วิธีอื่น ๆ ที่ได้รับการบอกต่อกันมา

          วิธีเหล่านี้อาจจะมีผลดีบ้างในช่วงแรก ๆ แต่หลังจากผ่านเวลาไปสักพักแล้วก็จะพบว่าไม่เป็นผล ไม่มีทางที่ใครจะกินผลไม้อย่างเดียวไปตลอดชีวิต หรือไม่กินอะไรเลยทั้งวันต่อเนื่องกันยาวนาน หรือาจใช้การกินยาถ่ายบ่อย ๆ เมื่อผ่านเวลาไปนาน ๆ เข้า ลำไส้ก็จะเริ่มทำงานผิดปกติ คราวนี้ยาถ่ายก็จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป แถมยังส่งผลร้ายให้เป็นคนขับถ่ายได้ยากกว่าเดิม บางคนส่งผลถึงกับกลายเป็นคนถ่ายไม่ออกเป็นเดือน ๆ ก็มี แล้วถ้าเช่นนั้นจะใช้วิธีไหนดีน้ำหนักถึงจะลดลงได้

          วิธีหนึ่งที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นก็คือ การกินกล้วยมื้อเช้า หลายคนอาจทำหน้างงว่าทำไมต้องเป็นกล้วยมื้อเช้า เป็นแอปเปิล มะละกอ แตงโม ระกำ บ้างได้ไหม ก็ขอแนะนำตรงนี้เลยว่า กล้วยนับเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดชนิดหนึ่ง ในกล้วยนั้นจะมีวิตามินบี 1 และบี 2 ที่ช่วยในการเร่งเผาผลาญ น้ำตาลและไขมัน ทั้งยังช่วยฟื้นฟูร่างกายการจากเหนื่อยล้า อีกยังมีโปแตสเซียมช่วยในการขับโซเดียม อันเป็นหนึ่งในตัวการที่จะทำให้ความดันเลือดสูงออกทางปัสสาวะ และส่งผลให้ลดการบวมของร่างกายได้

          แมกนีเซียมในกล้วยยังช่วยควบคุมความดันเลือด และการทำงานของแคลเซียมในร่างกาย เส้นใยที่มีอยู่ในกล้วย จะส่งผลให้ระบบการขับถ่ายในแต่ละวันของร่างกายเราดีขึ้น กล้วยยังมีเซโรเทนินที่ช่วยลดอาการหงุดหงิด และทำให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้นอีกด้วย

          กล้วยยังมีคุณประโยชน์อีกหลากหลายชนิด ทั้งไฟโตเคมิคัลที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ป้องกันมะเร็ง มีเอนไซม์ช่วยในการย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานหนักลดลง ในกล้วยดิบยังมีฤทธิ์ในการขับพิษสูง และหากกล้วยสุก ก็ทำให้ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นกว่าปกติอีกด้วย

          ทั้งหมดเป็นประโยชน์ที่ได้รับจาการกินกล้วยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งกินตอนไหนก็ได้ แต่หากเราเฉพาะเจาะจงให้การกินกล้วยได้ผลสูงสุดต้องเป็นตอนเช้าครับ ทั้งหมดก็เพื่อจำกัดการทำงานของกระเพาะและลำไส้ให้น้อยที่สุด และจะทำให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟูสภาพอย่างเต็มที่ การกินกล้วยตอนเช้านั้นจะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำที่พอดี การไหลเวียนของของเหลวในร่างกายก็จะดีขึ้น และหากอยากให้ได้ผลอย่างจริงจัง ก็ต้องกินเฉพาะกล้วยกับน้ำเปล่าเท่านั้น รวมทั้งต้องนอนก่อนเที่ยงคืนอีกด้วย และถ้าเกิดหิวขึ้นกลางดึกก็ควรจะกินผลไม้เท่านั้น


กล้วย


          ในยุคปัจจุบันด้วยแล้ว ช่วงเวลาตอนเช้าเป็นช่วงเวลาที่เร่งรีบที่สุด บางคนถึงกับไม่กินอาหารเช้ากันเลย หรือไม่ก็เลือกกินเพียงแค่กาแฟกับขนมปังเท่านั้น ดังนั้นถ้าหากลองเปลี่ยนช่วงเวลาแห่งความเร่งรีบ มากินกล้วยตอนเช้าก็น่าจะสะดวกง่ายดาย แถมกล้วยยังเป็นผลไม้ที่มีเอนไซม์เยอะ ทำให้เมื่อกล้วยเคลื่อนที่เข้าไปสู่กระเพาะ การย่อยก็ไม่จำเป็น กล้วยจึงเคลื่อนที่สูู่ลำไส้ และเริ่มดูดซึมไปใช้กับร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

          การกินกล้วยมื้อเช้ายังมีส่วนช่วยทำให้อาการท้องผูกหายไป และส่งผลให้อุจจาระที่ตกค้างอยู่ในร่างกายค่อย ๆ ลดลงอีกด้วย บางคนที่มีน้ำหนักเกินนั้น ไม่ได้เพียงเพราะมีไขมันล้นเกินเพียงอย่างเดียวหรอกครับ แต่เนื่องจากมีของเสียสะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไปต่างหาก (บางคนมีอุจจาระสะสมอยู่ในตัวตั้ง 10 กิโลกรัม) เพราะฉะนั้นหลังจากเริ่มกินกล้วยมื้อเช้าไปแล้ว ของเสียต่าง ๆ จะเริ่มค่อย ๆ ถูกขับออกมาจนน้ำหนักลดลง

          การกินกล้วยมื้อเช้า เพื่อหวังผลในการลดน้ำหนักนั้นอาจจะไม่ได้ผลในช่วงแรก ๆ ไม่ใช่ว่ากินเพียงแค่วันสองวัน แล้วจะได้ผลเลยทันที แต่ต้องทำต่อเนื่องติดต่อกินสักระยะ และหากอยากลดน้ำหนักอย่างจริงจัง ลองจดทุกอย่างที่กินเข้าไปในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน การจดจะช่วยทำให้คุณได้เข้าใจมากขึ้นว่า ในแต่ละวันคุณกินอะไรเข้าไปบ้าง

การปลูกกล้วย

การขยายพันธุ์

ในการผลิตกล้วยเป็นการค้านั้น นิยมทำการขยายพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก 3 วิธี ดังนี้
1. การขยายพันธุ์จากหน่อ หน่อที่เกิดจากต้นแม่ที่ได้ทำการปลูกกล้วยต้นแรกไปแล้ว ได้แก่ หน่ออ่อน หน่อใบคาบ หน่อแก่ หน่อใบกล้า จะมีวิธีการดังนี้
     เตรียมอุปกรณ์ขุด ได้แก่ เสียมหรือชะแลงหน้ากว้างที่คมสำหรับขุดตัดแยกหน่อจากต้นแม่ และขณะเดียวกันก็สามารถใช้งัดหน่อที่ตัดแยกจากต้นแม่แล้วนำหน่อมาตัดรากออกด้วยมีดโต้ แล้วกลบดินไว้ตามเดิม

หน่อกล้วยไข่
2. การขยายพันธุ์ด้วยเหง้า วิธีการนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยของไทยนัก เพราะเป็นขบวนการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลานานในการเลี้ยงกล้าที่เกิดใหม่ มีวิธีการดังนี้
     ขุดเหง้ากล้วยที่ตัดเครือใบแล้วนำมาผ่าใบลงตามยาวเป็น 2 หรือมากกว่า 2 แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของเหง้า และนำไปชำในวัสดุเพาะชำ จนได้ต้นกล้าขนาดพร้อมที่จะปลูกได้ จึงทำการย้ายปลูกได้ต่อไป
3. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งในการผลิตกล้วยในหลาย ๆ ประเทศ นิยมใช้วิธีนี้มาก เพราะในการผลิตกล้วยเพื่อส่งตลาดในครั้งละมาก ๆ จะต้องมีการวางแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีส่งตลาดในเวลาเดียวกันเป็นช่วง ๆ ไป เหมาะสำหรับการผลิตกล้วยเป็นการค้าแบบแปลงใหญ่ ข้อดีกล้วยที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้คือ กล้วยจะตกเครือในเวลาเดียวกัน แต่เกษตรกรต้องเสียเวลาในการเพาะปลูกยาวนานกว่าวิธีการแยกหน่อ หน่อพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก
หน่อกล้วยที่เกิดจากต้นกล้วยต้นแม่สามารถจำแนกตามรูปร่างและลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. หน่ออ่อน เป็นหน่ออายุน้อย ขนาดเล็กมีเพียงใบเกล็ดอยู่เหนือผิวดิน ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก

หน่อชนิดต่าง ๆ
2. หน่อใบดาบ เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้า ใบเลี้ยงเล็กขนาดสูงประมาณ 75 เซนติเมตร มีเหง้าขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร เหมาะสำหรับการแยกไปเพาะปลูก
3. หน่อแก่ เป็นหน่อที่เจริญมาจากหน่อใบดาบ ใบเริ่มแผ่กว้างขึ้น อายุประมาณ 5-8 เดือน มีเหง้าขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร เหง้าของหน่อแก่อาจมีตาที่สามารถเจริญเป็นหน่อใหม่ได้หลายหน่อ
4. หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือเหง้าที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ลักษณะใบแผ่กว้างตั้งแต่ยังมีอายุน้อย ซึ่งไม่นิยมนำไปเพาะปลูก การเลือกหน่อกล้วยเพื่อการเพาะปลูก
1. ต้องเป็นหน่อที่เหง้าใหญ่สมบูรณ์ ความสูงของหน่อไม่มากเกินไป ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 75 เซนติเมตร
2. เป็นหน่อที่ได้จากต้นแม่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคตายพราย หรือมีแมลงเข้าทำลายโดยเฉพาะด้วงงวงเข้าทำลายมาก่อน
3. ส่วนเหง้าต้องไม่ถูกโรคแมลงทำลาย
4. เป็นแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งเกษตรกรได้มีการตรวจสอบประวัติของสวนแล้ว ไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
5. กรณีเป็นหน่อที่มีวางจำหน่าย ต้องพิจารณาความสดใหม่เหง้าใหญ่ไม่บอบช้ำอีกด้วย การใส่ปุ๋ย
เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีอายุสั้น จึงทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากกล้วยตั้งตัวได้แล้ว เกษตรกรควรรีบใส่ปุ๋ยให้แก่กล้วย เพื่อการเจริญเติบโตทางลำต้น และการตกเครือที่มีคุณภาพ ชนิดปุ๋ยมีดังนี้
1. ปุ๋ยคอก ใส่ขณะเตรียมหลุมปลูกแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัม/ต้น และหลังกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนออกปลี อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ต้น
2. ปุ๋ยไนโตรเจน ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ใช้วิธีการหว่านลงดินปริมาณ 60 กรัม/ต้น แล้วให้น้ำทันที (การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตบ่อย และมากเกินไปจะทำให้ดินเป็นกรด และเป็นอันตรายต่อกล้วย)
3. ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ปุ๋ยนี้ควรให้หลังติดผลแล้ว อัตรา 500 กรัม/ต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
      - ครั้งแรกหลังตัดปลีแล้ว
      - ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือน การกำจัดวัชพืช
วัชพืชเป็นพืชที่มาแย่งดูดอาหารในดินไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต มีผลทำให้กล้วยมีความเจริญเติบโตช้าลง บางชนิดอาจทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่อาศัยของโรคและแมลงบางชนิด เกษตรกรควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. วิธีกล ได้แก่ การถอน ดาย หรือถากด้วยจอบ ควรทำการกำจัดขณะที่วัชพืชมีต้นเล็ก ก่อนที่วัชพืชนั้นจะออกดอก ถ้าเป็นพืชที่มีดอก ต้องเก็บภาชนะที่ใส่เมล็ดวัชพืช ร่วงหล่นไปตามพื้นดิน มิฉะนั้นจะทำให้วัชพืชมีการระบาดและแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น ควรเก็บวัชพืชออกมารวมกันแล้วทำการเผาหรือฝัง หากกองทิ้งไว้เฉย ๆ เมล็ดที่แห้งอาจถูกลมพัดพาไปงอกเป็นต้นใหม่ได้ต่อไป
2. วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซม เลือกพืชที่มีระบบรากตื้น และสามารถใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หรือพืชผักชนิดต่าง ๆ นอกจากจะช่วยลดปริมาณวัชพืชในแปลงปลูกกล้วย ยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
3. ใช้วิธีคลุมดิน หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งใบกล้วยแล้ว เกษตรกรก็นิยมใช้ใบกล้วยช่วยคลุมหน้าดินไว้ นอกจากจะช่วยให้ลดปริมาณวัชพืชลงได้แล้ว ยังช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดินอีกด้วย การตัดแต่งหน่อ
หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน กล้วยจะเจริญเติบโตมากขึ้น ในช่วงนี้จะมีหน่อกล้วยเจริญขึ้นมาพร้อมกับต้นแม่ จำนวน 4-5 หน่อ หรือมากกว่านั้น หน่อขนาดใหญ่เป็นหน่อตาม อยู่ตรงข้ามต้นแม่ จะแย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือกล้วยที่ออกมาจากต้นแม่มีขนาดเล็ก เกษตรกรที่มีการดูแลสม่ำเสมอ ควรขุดแยกออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ หากหน่อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากแล้ว จะไม่สามารถขุดออกได้ ทำลายโดยใช้น้ำมันก๊าดหยอดลงที่ยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา ส่วนหน่ออื่น ๆ เก็บไว้ได้ 1-2 หน่อ หากมีมากกว่านี้ควรขุดออกบ้าง แต่ไม่ควรขุดหน่อในช่วงกล้วยออกเครือ เพราะอาจทำให้กล้วย ผลลีบเล็ก เครือเล็กหรือสั้นลงได้ เกษตรกรควรใช้มีดปาดหน่อ ที่เกิดช่วงตกเครือให้สั้นลงได้ จะช่วยลดการแย่งอาหารจากต้นแม่ได้อีก ทั้งยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของหน่อ และสามารถขุดหน่อมาใช้ปลูกต่อไป หลังจากที่ทำการตัดเครือกล้วยแล้ว

การตัดแต่งใบและหน่อ
การออกปลี
เมื่อปลูกกล้วยไปประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลี โดยกล้วยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก ชูก้านใบขึ้นชี้ท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า "ใบธง" หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลีกล้วยสีแดงออกให้เห็นชัด และกาบปลีจะบานต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งผลกล้วยที่อยู่บนหวีเริ่มสั้นและเล็กลง อีกทั้งขนาดแต่ละผลไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งเรียกว่า "หวีตีนเต่า" ส่วนหวีที่ถัดจากหวีตีนเต่าลงมาก็จะมีขนาดเล็กมากเท่ากับก้านดอกในกาบปลีที่กำลังบานอยู่ ถ้าปล่อยให้หัวปลีบานต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นเพียงก้านดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกัน คล้ายหวีกล้วยขนาดจิ๋ว การบานของหัวปลีจะทำให้การพัฒนาขนาดของผลกล้วยช้าลง ส่งผลให้ผลกล้วยมีขนาดเล็ก ๆ ไม่โตเท่าที่ควร

กล้วยออกปลี
การตัดปลี
หลังจากกล้วยออกปลีมาแล้วระยะหนึ่ง ก็จะเห็นผลกล้วยเล็กจำนวนมาก เป็นหวี ๆ อย่างชัดเจน โดยทุกหวีจะมีผลกล้วยขนาดเท่า ๆ กัน ยกเว้นหวีตีนเต่า และหวีต่อไปก็จะเป็นผลกล้วยขนาดเล็กมาก ๆ ให้ทำการตัดปลีออกหลังจากปลีบานต่อไปจากหวีตีนเต่าอีก 2 ชั้น เพื่อไว้สำหรับมือจับปลายเครือ ขณะทำการตัดเครือกล้วยในช่วงเก็บเกี่ยว อีกทั้งสะดวกในการหยิบยกและแบกหาม

การตัดปลี
การห่อผล
หลังจากที่ได้ทำการตัดปลีกล้วยออกไปแล้ว ผลกล้วยก็จะเริ่มพัฒนาและขยายขนาดใหญ่ขึ้น ในการผลิตกล้วยเป็นการค้าที่ต้องการให้ผิวกล้วยสวยงามปราศจากโรคแมลงทำลาย สีผิวนวลขึ้น และน้ำหนักผลเพิ่มมากขึ้น ควรมีการห่อผล

การห่อผล
การค้ำกล้วย
ต้นกล้วยหลังจากตกเครือแล้ว จะมีการหักกลางต้น (หักคอ) ได้ง่าย เมื่อกล้วยใกล้จะแก่ ทั้งนี้เพราะน้ำหนักผลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้วยหอมทอง ซึ่งจะมีการหักล้มได้ง่ายมาก เพื่อป้องกันการเสียหายจากหักล้ม เกษตรกรควรใช้ไม้ค้ำกล้วยหลังตกเครือแล้ว ด้วยไม้รวกที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้วประมาณ 1 เดือน โดยดำเนินการดังนี้
1. นำไม้รวกมาเสี้ยมปลายด้านที่จะใช้ปักลงดินทั้ง 2 อัน แล้วผูกเชือกปลายไม้ทั้งสองอันนี้ โดยให้เหลือส่วนปลายไม้ด้านบนอันละ 30 เซนติเมตร เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักต้นกล้วย จากนั้นให้ถ่างไม้ทั้งสองไขว้กันเป็นลักษณะคีม แล้วนำไปค้ำต้นกล้วยบริเวณที่ต่ำลงมาจากตำแหน่งเครือกล้วย ประมาณ 30-50 เซนติเมตร

การค้ำกล้วย
นอกจากใช้ไม้รวกแล้ว เกษตรกรอาจใช้ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่เป็นไม้งามอยู่แล้วแทนก็ได้