วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กล้วยครบวงจร

กล้วยเป็นพืชเมืองร้อนที่ปลูกมาเคียงข้างกับประเทศไทย คนไทยรู้จักกล้วยและรับประทานกล้วย
มาตั้งแต่เด็ก การปลูกกล้วยในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้น ๆ แสดงให้เห็นถึงความนิยมของผู้บริโภค
แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะรู้จักกล้วยอยู่เพียง 3 ชนิด คือ กล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า และกล้วยไข่ ภาย
ในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการส่งออกมิได้เพิ่มตามพื้นที่การปลูกกล้วย ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ
ในการปลูก การดูแลให้กล้วยได้มาตรฐานในการส่งออก แต่ก็ไม่มีผู้ใดทำการส่งออกจริงจัง การส่งออกจะ
ได้ผลดีต้องอาศัยองค์กรประกอบ อาทิเช่น ตัวเกษตรกรเองพันธุ์กล้วยที่ให้ผลิตสูง ผลผลิตมีคุณภาพและ
ผู้ส่งออกซึ่งอาจจะต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีหน้าที่ในการสอนและวิจัย ได้ทำการวิจัยถึงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย
ในประเทศไทย การผลิตกล้วยเพื่อการส่งออกต่างประเทศ รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของกล้วยด้วย การแปรรูป
และการนำส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วยมาใช้ประโยชน์ อาทิเช่น ปลี ใบตองและกาบกล้วย ดังต่อไปนี้
การอนุรักษ์พันธุ์กล้วยในประเทศไทย ได้ทำการวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2522-2526 โดย เบญจมาศ ศิลาย้อย
และฉลองชัย แบบประเสริฐ แห่งภาควิชาพืชสวน โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก IBPGR/FAO ได้ทำการสำรวจ
รวบรวม และจำแนกพันธุ์กล้วยในประเทศไทย พบว่า มีอยู่ 53 พันธุ์ หลังจากนั้นได้มีผู้ช่วยทำการสำรวจ
เพิ่มขึ้นคือ กวิศร์ วานิชกุล จนกระทั่งได้ 59 พันธุ์ พันธุ์ที่รวบรวมได้ ได้เก็บรักษาไว้ในแปลงรวบรวมพันธุ์
ที่สถานีวิจัย ปากช่องจังหวัดนครราชสีมา โดย ฉลองชัย แบบประเสริฐ และภาควิชาพืชสวน วิทยาเขต
กำแพงแสน โดยกวิศร์ วานิชกุล และได้รวบรวมไว้โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ภาควิชาพืชสวน วิทยาเขต
บางเขน โดย เบญจมาศ ศิลาย้อย
การพัฒนาการผลิตกล้วยหอมเศรษฐกิจให้ได้ผลผลิตสูง

เพื่อใช้ผลิตในเชิงการค้างานทดลองนี้ได้เน้นที่พันธุ์กล้วยหอมที่ปลูกเป็นการค้าทั่วโลกคือ พันธุ์แกรนด์เนน
ซึ่งเป็นพันธุ์กล้วยหอมเขียว ที่นำมาจากอเมริกาใต้ โดย เบญจมาศ ศิลาย้อย และได้ปลูกทดสอบ กล้วย
หอมเขียว (Cavendish) พันธุ์ต่าง ๆ เช่น วิลเลียม ไจแอนท์คาเวนดิช ดวอฟคาเวนดิช เปรียบเทียบกับ
กล้วยหอมทอง และหอมทองไต้หวัน โดย กวิศร์ วานิชกุล จุลภาค คุ้นวงศ์ และเบญจมาศ ศิลาย้อย ที่
วิทยาเขตกำแพงแสน เมื่อ ปี พ.ศ. 2532 และ พบว่า กล้วยหอมเขียวทุกพันธุ์ มีศักยภาพที่จะปลูกได้ใน
ประเทศไทยโดยให้ผลผลิตสูง จำนวนหวีมาก จำนวนผลต่อหวีสูงกว่ากล้วยหอมทอง กล่าวคือ ในขณะที่
ผลิตกล้วยหอมทองได้ 4-6 หวี/เครือ มี 14 ผล/หวี กล้วยหอมเขียวดังกล่าวสามารถให้ผลผลิตได้
ประมาณ 8-12 หวี/เครือ และจำนวน 16-20 ผล/หวี ดังนั้น จึงควรปลูกกล้วยหอมเขียวพันธุ์ดังกล่าว
โดยเฉพาะกล้วยหอมแกรนด์เนน ซึ่งมีต้นเตี้ย รสชาติคล้ายหอมทอง ส่วนกล้วยหอมทองนั้นควรปลูก
รับประทานภายในประเทศ ในปี 2536-2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ให้
ทุนนักวิจัยทำการวิจัยกล้วยครบวงจร ดังนั้น ในการวิจัยการปลูกในเชิงการค้าจึงเน้นที่ กล้วยหอม
แกรนด์เนน ซึ่งฉลองชัย แบบประเสริฐ รักเกียรติ ชอบเกื้อ สุวิทย์ มานิชยิ่ง และ พินิจ กรินท์ธัญญกิจ
ได้ทำการทดลองที่สถานีวิจัยปากช่อง ส่วน ณรงค์ สิงห์บุระอุดม ได้ทดลองที่วิทยาเขตกำแพงแสน ได้
ทดลองใช้พันธุ์กล้วยหอมแกรนด์เนนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลูก และได้ผลทำนองเดียวกันว่า ควร
ใช้อัตราปลูก 350 ต้นต่อไร่ เก็บใบไว้ 11 ใบ จะได้ต้นที่มีการเจริญเติบโต ผลผลิตดี คุณภาพดี กล่าวคือ
ได้น้ำหนักเครือสูงถึง 28.38 กิโลกรัม มีผล 15.36-18.35 ผล/หวี และมี 7.86-8.66 หวี/เครือ ความยาว
ของผล 15.92-16.12 เซนติเมตร กว้าง 3.95-4.02 เซนติเมตร เปลือกมีความหนา 0.3-0.343 เซนติเมตร
ถ้าหากการปลูกกล้วยมีจำนวนมากเพื่อการส่งออก ปริมาณสิ่งที่เหลือใช้จากการส่งออกจะมีมากมาย
เพราะในการส่งออกนั้นจะต้องคัดเลือกผลที่ได้ขนาดมาตรฐาน ผิวดีไม่มีตำหนิ ดังนั้นจะมีผลกล้วยที่ไม่ได้
มาตรฐานเหลือมาก ซึ่งสามารถส่งขายตลาดในประเทศ หรืออาจจะมาเพิ่มมูลค่าในการส่งออก โดย
การแปรรูปได้ เช่น
การทำแป้งกล้วย (Banana flour) งานวิจัยนี้ได้กระทำโดย กรุณา วงษ์กระจ่าง มาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์
ลัดดา แสงเดือน สุมิตรา บุญบำรุง และ พยอม อัตตวิบูลย์กูล โดยทำการทดลองกับกล้วยหอมดิบและ
กล้วยไข่ดิบ ทั้งนี้ เพราะกล้วยดิบมีคาร์โบไฮเดรท ซึ่งอยู่ในรูปของแป้งสูง งานทดลองนี้ได้ทดลองกล้วยดิบ
กับกล้วยดิบที่นึ่ง โดยนำกล้วยมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นึ่งและอบแห้งที่ 60 ํC แล้วร่อนผ่านตะแกรง
60 mesh ผลการทดลอง พบว่า จากการทำขนมเค้ก และคุกกี้ พบว่า แป้งกล้วยไม่ผ่านการนึ่งได้รับการ
ยอมรับมากกว่าจากการใช้แป้งกล้วย 30-50% ทดแทนแป้งสาลีในการทำขนม
การทำกล้วยผง (Banana powder) กล้วยผงต่างจากแป้งกล้วยที่ทำจากกล้วยสุก เป็นผลิตภัณฑ์
ที่มีน้ำหนักเบา สามารถเก็บรักษาได้นาน และอยู่ในสภาพสะดวกต่อการนำไปใช้ เช่น เป็นส่วนผสมของ
อาหารเด็กอ่อนขนมอบ ขนมหวาน การทดลองนี้ได้ทำการวิจัยโดย ธนะบูลย์ สัจจาอนันตกุล และ กัลยาณี
โสมนัส ได้ทดลองนำกล้วยที่มีความสุกแก่ 2 ระดับ คือที่ PCI 5-6 และ 7-8 นำมาทำแห้งแบบโฟม และ
แบบพ่นฝอย พบว่า ในการทำแห้งแบบโฟม ต้องใช้ Milhocel A&M (4000 cps) หรือ Myvatex เป็นสาร
ช่วยให้โฟมคงตัว โดยใช้ความเข้มข้น 0.7-1.1% solid กล้วยขึ้นกับอายุการสุกแก่ หลังจากนั้นสามารถ
ใช้การอบแห้งโดยตู้อบแห้ง และบดเป็นยาได้ ทั้งนี้ Myvatex จะสะดวกในทางปฏิบัติมากกว่า ส่วนการ
ทำแห้งแบบฝอยมีขั้นตอนที่สะดวกในการปฏิบัติมากกว่าการทำแห้งแบบโฟม การทำแห้งแบบฝอยควรมี
Maltodextrin ปริมาณ 60:40 กับ solid กล้วย เพื่อช่วยในการทำแห้ง และรักษากลิ่นแต่ทำให้ผลที่ได้
มีสีเหลืองน้อยลง
การพัฒนาการผลิตเครื่องดื่มจากกล้วย กล้วยสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้เช่นเดียวกับส้ม
สตรอเบอรี่ โดย ทนง ภัครัชพันธุ์ และได้ทำการวิจัยการทำน้ำกล้วยแบบใส และแบบขุ่น
นอกจากเป็นน้ำกล้วย ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์แล้ว กล้วยยังสามารถนำมาผลิตไวน์ และ
ลิเคียวได้ โดย ประดิษฐ์ ครุวัณณา ได้ศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตไวน์ และลิเคียวจากกล้วย
โดยทดลองใช้กล้วยที่สุก 3 ชนิด คือ กล้วยหอมทอง แกรนด์เนน และวิลเลียม ทำการหมักกล้วย
โดยใช้ยีสต์ Saccharomyces cerevesiae (Montrachet Strain) จำนวน 5% ที่อุณหภูมิ 20 ํC และทำให้
ใสโดยใช้เอนไซม์ Ultrazyme 100 C 70 ppm ที่ 20 ํC ประมาณ 10 วัน แล้วกรองด้วยเครื่องกรอง
สูญญากาศ เก็บไวน์ไว้ที่ 5 ํC ส่วนการทำลิเคียว (สุรากลั่นเติมรสหวาน) นั้น ทำการกลั่นไวน์กล้วยที่หมัก
ทั้งเนื้อ และเปลือก ด้วยเครื่องกลั่นทำด้วยแก้ว เก็บเมื่อมีแรงแอลกอฮอล์ ประมาณ 60% โดยปริมาตร
เติมผง activated charcaal 0.05 % กรองด้วยกระดาษกรองเบอร์ 1 แล้วเติมแอลกอฮอล์กลั่นนี้ในไวน์
กล้วยหอมจนมีแรงแอลกอฮอล์ ประมาณ 15% โดยปริมาตร เติมน้ำเชื่อมจนมีน้ำตาลรีคิงส์ 5.0-7.5%
จากผลการทดลอง พบว่า กล้วยหอมทองและกล้วยวิลเลียมเหมาะที่จะนำมาหมักไวน์ ส่วนกล้วยหอม
แกรนด์เนนและหอมทองเหมาะในการทำลิเคียว
การนำกล้วยบรรจุกระป๋อง กาญจนารัตน์ ทวีสุข ได้ทำการทดลองบรรจุกล้วย พบว่า สามารถ
ทำการแปรรูปเป็นกล้วยกระป๋องได้ผลดี
นอกจากการใช้ผลกล้วยแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของกล้วยเพื่อทำผลิตภัณฑ์อื่น
เช่น การใช้ใบตอง และลำต้นเทียมของกล้วย
การใช้ใบตอง ได้มีการทดลองทำบรรจุภัณฑ์จากใบตองแห้ง โดย งามทิพย์ ภู่วโรดม โดยมีจุดประสงค์
ในการทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำมาทดแทนภาชนะพลาสติกและโฟมใช้ในการบรรจุอาหารชั่วคราว เพื่อลด
ปัญหาขยะและมลภาวะทางอากาศ พบว่า การใช้ใบตองของกล้วยตานีดำ และหอมเขียว ให้คุณสมบัติใกล้
เคียงกัน มีความแข็งแรงดีกว่าใบตองของกล้วยน้ำว้า และใบที่ใช้ควรเป็นใบอ่อน จะมีสีสวยงามกว่าใบแก่
ในการวิจัยได้ทำการขึ้นรูปภาชนะ รูปร่างเป็นวงกลมสี่เหลี่ยมผืนผ้า และสี่เหลี่ยมจตุรัส ในการขึ้นรูปต้องใช้
แม่พิมพ์อัดโดยใช้ความร้อน แรงดัน จากการศึกษาพบว่า การขึ้นรูปต้องใช้แม่พิมพ์ที่ประกบติดกันได้สนิท
ระยะห่างของแม่พิมพ์ทั้ง 2 ชั้น ต้องสม่ำเสมอ และควรใช้ใบตอง 7 ชั้น อัดที่อุณหภูมิ 80 ํC ความดัน 3 ตัน
เป็นเวลา 1 นาที 30 วินาที ถึง 3 นาทีส่วนภาชนะควรเป็นทรงกลมและตื้นคือ ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร
จะได้ภาชนะที่แข็งแรงกว่าทรงเหลี่ยมและลึก อย่างไรก็ตามความแข็งแรงทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดใบตองที่ใช้ด้วย
การผลิตกระดาษจากลำต้นเทียมของกล้วย ได้ทำการวิจัย โดย ปรีชา เกียรติกระจาย โดยมีจุดประสงค์
เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ และเคมีพื้นฐานจากกาบกล้วย และสมบัติเบื้องต้นทางเยื่อกระดาษจากกาบ
กล้วยพบว่า มวลของต้นกล้วยเป็นน้ำส่วนใหญ่ สัดส่วนน้ำต่อมวลแห้ง ประมาณ 14:1 มวลแห้งของกาบต่อไส้
4.5:1ไฟเบอร์ของกาบกล้วยมีความยาวระหว่าง 3-5 มม. มีลิกนินต่ำกว่า 14% เมื่อเทียบกับไม้ซึ่งมี 25-35%
ดังนั้น จึงมีแรงต้านทานต่อแรงหักที่สูงกว่าไม้หลายชนิด เหมาะที่จะทำเป็นกระดาษเพื่อความสวยงาม จะเหมาะ
กว่าเช่น ชานอ้อย และกระดาษสา เปลือกกล้วย ยังมีสารที่มีประโยชน์ เช่น แทนนิน แทนนิน มีประโยชน์
ในแง่การเสริมรสชาติในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะไวน์แดง และมีกลิ่นรส เฉพาะตัว ของผลิตภัณฑ์ วิภา
สุโรจนะเมธากุล ได้ทำการวิจัย พบว่า ในเปลือกกล้วยมีปริมาณแทนนินอยู่แต่ไม่มากนัก
นอกจากการวิจัยในด้านการผลิตและแปรรูปแล้ว ยังได้มีการศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์
ของการผลิตและการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ จากกล้วย โดย สมคิด ทักษิณาวิสุทธิ์ พบว่าเกษตรกร เห็นว่า
ต้นกล้วยพันธุ์แกรนด์เนนที่ผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดี เหมาะสมที่จะผลิตเป็นการค้า ถ้าหากมีผู้รับ
ซื้อจริงจัง เกษตรกรสามารถทำการผลิตส่งได้
จากงานวิจัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เราสามารถปลูกกล้วยได้ดีในประเทศไทย และสามารถปลูก
ในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย ส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วย รวมทั้งผล สามารถนำมาแปรรูปได้ เป็นการเพิ่มมูลค่า
ของกล้วยให้มากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น